วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2559

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย

ศาสนาสำคัญในประเทศไทย
   แม้คนไทยส่วนใหญ่จะนับถือพระพุทธศาสนา  แต่ประเทศไทยเป็นดินแดนเสรี  ประชาชนได้รับสิทธิที่จะนับถือศาสนาใดๆ  ก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นอย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างทางศาสนาไม่เคยก่อให้เกิดปัญหาที่ร้ายแรงในประเทศไทยศาสนิกชนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด  ต่างก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในประเทศไทย ทั้งนี้เพราะทุกศาสนาสอนให้คนละเว้นความชั่วประพฤติแต่ความดี ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจช่วยเหนี่ยวรั้งอ่านเพิ่มเติม

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา

ความหมายของศาสนา
คำว่า "ศาสนา" ในภาษาอังกฤษคือ "Religion" โดยเป็นคำที่มาจากคำละติน "Religio" ซึ่งแปลว่า "สัมพันธ์" หรือ "ผูกพัน" เนื่องจากภาษาละตินเป็นภาษาของชนชาติโรมัน ดังนั้น คำว่า "Religio" จึงหมายถึง "ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า"ในภาษาบาลีจะ เขียนว่า "สาสน" ซึ่งแปลว่า "คำสั่งสอน" ซึ่ง "คำสั่ง" หมายถึง ข้อห้ามทำความชั่ว และสำหรับ "คำสอน" หมายถึง คำแนะนำให้ทำความดีอ่านเพิ่มเติม


หน้าที่และมารยาทของชาวพุทธ

       พุทธศาสนิกชนยึดถือพระพุทธศาสนาเป็นสรณะในการดำรงชีวิต ในประเทศไทยประชาชนมากกว่าร้อยละ ๙๕นับถือพระพุทธศาสนาเป็นเวลากว่าพันปีแล้วที่พระพุทธศาสนาได้เข้ามาผสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนแยกกันไม่ออก ความเจริญหรือความเลื่อมของพระพุทธศาสนาย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไทย พวกเราชาวพุทธจึงมีหน้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงสืบไป หน้าที่สำคัญของชาวพุทธมีดังนี้อ่านเพิ่มเติม


พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง

พระอานนท์
ประวัติ
พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ พระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดาพระนามว่า กีสาโคตมี ท่านจึงเป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชพร้อมกับ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายภคุ เจ้าชายกิมพิละ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายเทวทัต กับนายภูษามาลา ชื่อว่า อุบาลีอ่านเพิ่มเติม



การบริหารจิตและเจริญปัญญา

    การบริหารจิต หมายถึง การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น  มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคง โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต ในการที่จะให้จิตมีสติได้นั้น ผู้ฝึกต้องมีวิธีการดังนี้คือ  การตั้งใจให้มีสติปสัมปชัญญะอยู่เสมอ การคบกับคนผู้มีสติปัญญามั่นคง การไม่คบคนที่มีจิตใจฟุ้งซ่านปั่นป่วนและการมีใจน้อมไปในการมีสติคืออยากจะมีสติมั่นคงอ่านเพิ่มเติม



พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต

    พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกรวมๆ ว่า พุทธธรรม คำว่าพระไตรปิฎก มาจากภาษาบาลี ติปิฏก แปลว่า ตะกร้าสามใบ หรือคำสอนสามหมวด (ติ หมายถึง สาม ปิฏก หมายถึง ตำรา คัมภีร์ หรือกระจาด) ซึ่งคำสอนสามหมวดนี้ ได้แก่
พระวินัยปิฎก หรือ พระวินัย ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี อ่านเพิ่มเติม


หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม
พระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
อ่านเพิ่มเติม